ททท.ทุ่ม 29ล้านบาทจัดงานประเพณีไทยลอยกระทง 2555 ใน 8 จังหวัด

on วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ททท.ทุ่ม 29 ล้านบาท จัดงานประเพณีไทยลอยกระทง 2555 ใน 8 จังหวัด ข่าวจาก Mthai รายงานเมื่อวันที่ 19/11/2555



1.ลอยกระทงกรุงเทพ
 : “สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง” ที่เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ ระหว่างวันที่ 24-28 พฤศจิกายน ตลอดบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถึงสะพานกรุงธน
กิจกรรมเด่น 
ชมการแปลงโฉมเรือรบใหญ่ขนาด 80 ตัน เป็นเรือประดับไฟฟ้า สว่างไสวทั่วลำน้ำจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณสะพานพุทธฯ ถึงสะพานกรุงธน การแสดงพลุประกอบแสงเสียงชุดพิเศษ “สว่างไสว สายน้ำแห่งเจ้าพระยา” ณ เอเชียทีคฯ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight.php

2.ลอยกระทงสุโขทัย
 ” “ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2555″ วันที่ 26-28 พฤศจิกายน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
กิจกรรมเด่น 
การประกวดนางนพมาศ การแสดงแสงเสียงศิลปวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดสุโขทัย ขบวนเรือในตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight_Sukhothai.php

3.ลอยกระทงอยุธยา
 “เทศกาลลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ  2555″ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 24-28 พฤศจิกายน
กิจกรรมเด่น
การประกวดกระทงและนางนพมาศ/หนูน้อยนพมาศ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ,การแสดงศิลปวัฒนธรรม ชมการจุดพลุ การปล่อยโคม และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight_Ayutthaya.php

4.ลอยกระทงเชียงใหม่
 : “ประเพณียี่เป็ง” วันที่ 27-29 พฤศจิกายน ณ เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ , อำเภอแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมเด่น
ขบวนแห่โคมยี่เป็งจากข่วงประตูท่าแพ-ถนนท่าแพ-ถนนช้างคลาน การประกวดโคมบูชา ประดิษฐ์โคม ตุงล้านนา
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight_Chiang_Mai.php

5.ลอยกระทงสมุทรสงคราม
 : “ประเพณีลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง ประจำปี 2555″ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ณ อุทยาน ร.2 อำเภออัมพวา
กิจกรรมเด่น
การลอยกระทงกาบกล้วยกว่าหนึ่งแสนใบ ตลอดลำน้ำแม่กลอง ร่วมรำวงย้อนยุค การแสดงโขนยุวศิลปินจากมูลนิธิ ร.2 การแสดงหุ่นสาย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight_Samutsongkram.php

6.ลอยกระทงสุพรรณบุรี
 วันที่ 26-28 พฤศจิกายน ณ บริเวณแม่น้ำสุพรรณบุรี วัดวรจันทร์ ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
กิจกรรมเด่น
การจัดงานวัดแบบย้อนยุค การแสดงประกอบแสงเสียง การจัดตลาดย้อนยุค การประกวดกระทงของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุพรรณบุรี การประกวดนางนพมาศ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight_Suphanburi.php

7.ลอยกระทงหาดใหญ่
 
วันที่ 27-28 พฤศจิกายน ณ บริเวณท่าน้ำบางหัก อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
กิจกรรมเด่น
การประกวดหนูน้อยนพมาศ การประกวดนางนพมาศ การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง อาหาร และสินค้าอื่นๆ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight_Had_Yai.php

8.ลอยกระทงตาก
 : “ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง” วันที่ 24-29 พฤศจิกายน ณ บริเวณริมสายธาร ลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
กิจกรรมเด่น
ชมการลอยประทีป ๑๐๐๐ ดวง การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ชมสินค้า “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” การแข่งขันการลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง และการแสดงบนเวที
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.loikrathong.net/th/Highlight_Tak.php
SOURCE : Mthai News

บทความประเพณีไทย ทุกภาค เมืองสยาม

on วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ประเพณีไทย (thaitradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล

  ประเพณีไทยภาคกลาง



ประเพณีไทยภาคกลางได้แก่วันสงกรานต์ ตามประเพณีเดิมของไทย วันตรุษกับวันสงกรานต์แยกเป็น ๒ วัน คือ วันสิ้นปีทางจันทรคติ ได้แก่ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันตรุษ ส่วนวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ คือ วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษ มักตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสงกรานต์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงรวมวันขึ้นปีใหม่มาไว้ในวันที่ ๑ เมษายน เรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ คำว่า ตรุษ แปลว่า ตัดหรือขาด คือ ตัดปี ขาดปี หมายถึง วันสิ้นปี ตรุษเป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยความสวัสดีในรอบปีหนึ่ง ๆ เรียกว่า ส่งปีเก่า สงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้นการย้ายที่ เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายน ทุกปี แต่วันสงกรานต์ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก

  ประเพณีไทยภาคเหนือ



ประเพณีไทยภาคเหนือได้แก่ ยี่เป็ง ยี่เป็ง เป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลหรือวันเพ็ญ เดือนยี่ของชาว ล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศ ปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียม ปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวง สวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต

  ประเพณีไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 




เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ พิธีกรรม นำเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้ อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ" แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ

ประเพณีไทยภาคใต้



เป็นประเพณีไทยเนื่องในพุทธศาสนา กระทำกันหลังวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา ๑ วัน คือตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า "พนมพระ" แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทาง หรือในลำน้ำ แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะสม ซึ่งชาวใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาหลายจังหวัดจะมีประเพณีนี้
ประเพณีลากพระของชาวใต้มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่น ๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย การประชันโพนหรือแข่งโพน กีฬาซัดต้ม การทำต้มย่าง การเล่นเพลงเรือ เป็นต้น นอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ นำความสุขสงบมาให้สังคม

แข่งเรือกอและด้วยฝีพาย

on วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ความสำคัญ
ในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งจะทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงทุกหมู่เหล่า ทรงวางโครงการน้อยใหญ่เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีความสงบสุขร่มเย็นด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและอันเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดนราธิวาสถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นและเป็นการฟื้นฟูประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย หน้าพระที่นั่ง และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดการแข่งขันเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙ อีกทั้งได้พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมเรือที่ชนะการแข่งขันด้วย

สาระ
การแข่งขันใช้เรือกอและระยะทาง ๖๕๐ เมตร ผู้ควบคุมลำละ ๑ คน จำนวนฝีพายรวมทั้งนายท้ายไม่เกินลำละ ๒๓ คน และมีฝีพายสำรองไม่เกินลำละ ๕ คน การเปลี่ยนตัวในแต่ละเที่ยวทำได้เที่ยวละไม่เกิน ๕ คน ทั้งนี้ให้ผู้ควบคุมทีมประจำเรือแจ้งให้คณะกรรมการปล่อยเรือทราบ เรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องถึงจุดเริ่มต้น (จุดปล่อยเรือ) ก่อนเวลาที่กำหนดแข่งขันในรอบนั้น หากไปช้ากว่ากำหนดเกิน ๑๕ นาทีถือว่าสละสิทธิ์จะปรับแพ้ในรอบนั้นได้ ก่อนการได้ยินสัญญาณ ณ จุดเริ่มต้นฝีพายทุกคนยกพายให้พ้นผิวน้ำ ยกเว้นนายท้ายเรือให้ใช้พายคัดท้ายเรือบังคับเรือให้หยุดนิ่ง และจะต้องวิ่งในลู่ของตน หากวิ่งผิดลู่หรือสายน้ำถือว่าผิดกติกาให้ปรับเป็นแพ้ในเที่ยวนั้น เรือที่เข้าถึงเส้นชัยก่อนลำอื่นโดยถือหัวเรือสุดเป็นการชนะการแข่งขันในเที่ยวนั้น การแข่งขันแบ่งเป็น ๔ รอบ รอบที่ ๑ และรอบที่ ๒ เป็นรอบคัดเลือก รอบที่ ๓ เป็นรอบรองชนะเลิศและรอบที่ ๔ เป็นรอบชิงชนะเลิศ

ประเพณีการเดินเต่า



ความสำคัญ
ประเพณีการเดินเต่า คือการเดินหาเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย ซึ่งแหล่งที่มีการเดินเต่าทางภาคใต้นั้นมีหลายแหล่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่คือบริเวณชายฝั่ง แถวฝั่งทะเลด้านตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ทางตะวันตกของจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นหาดทรายที่มีความยาวโดยตลอดร่วม ๑๐๐ กิโลเมตร ซึ่งในบริเวณชายฝั่งทะเลนั้น จะมีเต่าทะเลหลายชนิดขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย เมื่อถึงฤดูวางไข่ ชนิดของเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ตามชายฝั่งตะวันตกนี้มีหลายชนิด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันหลายชื่อได้แก่ เต่ากระ เต่าเฟือง เต่าเล็ก เต่าหางยาว เป็นต้น
ในแต่ละปีเต่าทะเลแต่ละชนิดจะขึ้นมาวางไข่ ๔ ครั้ง การวางไข่ของเต่าทะเลนั้นมีนิสัยที่แปลกประหลาดและน่าสนใจกว่าสัตว์อื่น ๆ ตรงที่จะขึ้นมาวางไข่ประจำที่หรือประจำหาด ทั้ง ๆ ที่ทะเลนั้นกว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้นว่าเต่าทะเลตัวใด ที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดไหนคราวต่อไปก็ขึ้นมาวางไข่ตรงที่หาดนั้นทุกครั้งไป เป็นประจำทุกปี อาจยกเว้นว่าบางครั้งมันอาจขึ้นมาพบคนรบกวนก็อาจต้องเปลี่ยนไปที่หาดอื่น บริเวณใกล้ ๆ กัน
เนื่องจากลักษณะของเต่าทะเลพิศดารอย่างนี้ ชาวบ้านในสมัยก่อนจึงสามารถเก็บไข่เต่าได้ โดยอาศัยความทรงจำของเต่าให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าเต่าทะเลแต่ละตัวหากขึ้นวางไข่ที่ใดแล้ว หลังจากนั้นไปเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ เต่าตัวเดิมนี้ จะขึ้นมาวางไข่อีกที่หาดเดิม แต่ตำแหน่งที่คลานขึ้นมาวางไข่จะห่างจากที่เคยขึ้นวางไข่ครั้งก่อนราว ๑๐-๒๐ เมตร อาจเป็นเพราะว่ามันกลัวจะไปขุดถูกหลุมไข่ที่เคยวางไว้แล้ว ก็เป็นได้ ส่วนเวลาไหนนั้นชาวบ้านจะต้องคำนวณโดยการนับน้ำว่าวันที่ครบกำหนดวางไข่นั้นเป็นวันข้างขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ ก็พอรู้ได้ว่าเวลาเท่าไรที่น้ำขึ้นครึ่งฝั่งน้ำลงครึ่งฝั่ง ซึ่งเป็นเวลาที่เต่าขึ้นวางไข่ จากนั้นก็สามารถเอาตะกร้าไปรอรับไข่เต่าได้ถูกต้องโดยไม่ต้องเดินไปเดินมาและไม่ต้องเสียเวลาหาหลุมไข่เต่าในตอนหลัง เช่นครั้งที่ ๑ ขึ้นมาวางไข่ในแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ครั้งต่อไปก็จะขึ้นวางอีกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (หลังจากครั้งก่อน ๗ วัน) หรืออาจไม่ขึ้นมาวางไข่ในวันดังกล่าวนี้ ก็จะขึ้นมาวางไข่ในวันขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๑๒ (หลังจากครั้งก่อน ๑๔ วัน) จากปากคำของชาวบ้านที่เคยได้สัมปทานไข่เต่าหรือเรียกกันในภาษาเดิมว่า "ผูกเต่า" บอกว่าใช้วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเดินให้เมื่อยเลย อาจจนอนอยู่ที่บ้านแล้วพอถึงเวลาที่คำนวณไว้ก็ค่อยเดินไปนั่งรอที่จุดนั้น ๆได้ และมักจะถูกต้องเสมอทุกคราวไป
แต่ในปัจจุบันนี้ ประเพณีการเดินเต่าไม่มีแล้ว เพราะว่าประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมมือกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ เต่าทะเล เป็นต้น ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนใน ถือเป็นการทำผิดกฎหมายถูกดำเนินคดีทางกฎหมายได้

พิธีกรรม
ประเพณีการเดินเต่าจะทำกันในตอนกลางคืน ซึ่งเริ่มตั้งแต่พลบค่ำจนสว่าง สำหรับคนรุ่นใหม่ ๆ นั้นหากไม่ค่อยมีความรู้ ก็อาจเดินหาตามความยาวของหาดทราย ระยะทางหลายกิโลเมตร โดยไม่เจอไข่เต่า แม้แต่หลุมเดียว (หลุมรัง) ก็เป็นได้ แต่สำหรับคนรุ่นก่อน ๆ นั้นมีเคล็ดในการหาไข่เต่าหลายอย่าง อย่างแรก คือเวลาที่เต่าจะขึ้นมาวางไข่ เต่าจะขึ้นมาวางไข่เมื่อไหร่นั้นให้ดูได้คือ
๑. ให้ดูดาวเต่า ดาวเต่านี้จะประกอบด้วยดาวหลายดวงซึ่งคนที่ชำนาญจะมองเห็นเป็นรูปเต่า ตำแหน่งที่ดาวเต่าเริ่มหันหัวลงทางทิศตะวันตก คือดาวเต่าเริ่มคล้อยลง (คล้าย ๆ กับดวงอาทิตย์ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป) เมื่อดาวเต่าหันหัวลงทะเลก็เป็นเวลาที่เดินเต่าได้ คนโบราณเชื่อว่าเต่าจะขึ้นมาวางไข่เวลานี้
๒. ให้ดูน้ำ หมายถึงน้ำทะเลขึ้นลงนั่นเอง หากว่าน้ำขึ้นครึ่งฝั่ง หรือน้ำลงครึ่งฝั่ง ก็เป็นเวลาที่เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่ ไม่ปรากฏว่าเต่าทะเลขึ้นมาขณะน้ำลดน้ำขึ้นมา
ดังนั้น เต่าทะเลก็มีกำหนดเวลาขึ้นวางไข่ในเวลาที่ไม่ซ้ำกัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นวันข้างขึ้นหรือข้างแรม กี่ค่ำที่ทำให้น้ำขึ้นลงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

สาระ
ประเพณีการเดินเต่า ชาวบ้านในท้องถิ่นพบเต่าทะเลที่กำลังขึ้นมาวางไข่ก็รู้ได้จากรอยคลานของเต่าที่ปรากฏ อยู่บนหาดทราย ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน เพราะมันจะใช้ทั้ง ๒ คู่สับลงบนพื้นทรายแล้วลากตัวขึ้นมา จึงปรากฏรอยในลักษณะที่คล้ายรอยของรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก โดยปรากฏเป็นทาง ๒ ทาง คือทางขึ้น ๑ ทาง ทางลงอีก ๑ ทาง จากรอยนี้ก็บอกได้ว่าต้องมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ แต่การหาหลุมที่เต่าวางไข่นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะว่าหาดทรายกว้าง ชาวบ้านในสมัยก่อนที่มีความรู้ มีวิธีสังเกตเพื่อหาหลุมไข่เต่าหลายวิธี ได้แก่
๑. ดูปลายทราย หมายถึงให้สังเกตทรายที่เต่าขุดขึ้นมาแล้วสาดไปโดยรอบลำตัวขณะที่ขุดหลุมวางไข่ จะปรากฏให้เห็นเป็นแนวโดยรอบ ๆ หลุมในระยะพอสมควร ซึ่งพอสันนิษฐานได้ว่าบริเวณที่อยู่จากถัดจากปลายทรายเข้าไปนั้น ต้องเป็นหลุมไข่เต่า แต่บางครั้งก็ไม่แน่นอนเพราะเต่ามักมีการพรางหรือหลอกโดยการสาดทราย หลาย ๆ จุด แต่ไม่ได้วางไข่จริง ๆ จะดูว่าเต่ามันหลอกเราหรือไม่นั้นก็ดูทรายที่สาด หากเป็นทรายเปียกหรือจับเป็นก้อนเล็ก ๆ แสดงว่าเป็นบริเวณหลุมที่วางไข่จริง เพราะเป็นทรายที่ขุดจากทรายชั้นล่าง หรือจากก้นหลุม
๒. ใช้ไม้ปลายแหลมแทงหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สัก" ลงไปตามพื้นทรายให้ลึกประมาณ ๒ ฟุต แล้วสังเกตว่า ไม้ที่แทงนั้นผิดปกติหรือไม่ หากผิดปกติ เช่น แทงลงโดยง่าย ทันทีอาจแทงบนหลุมเต่าก็ได้ อาจทดสอบได้ด้วยการดมปลายไม้ดู หากแทงถูกหลุมวางไข่จะมีกลิ่นคาวของไข่เต่าติดปลายไม้ขึ้นมา
๓. ถ้าเป็นเวลากลางวันให้ดูแมลงวันว่าไปตอมบริเวณใด เพราะแมงวันจะไปตอมบริเวณที่วางไข่ ซึ่งมีคาวเมือกขณะที่เต่าทะเลวางไข่ตกอยู่
หากทั้ง ๓ วิธีไม่สามารถหาหลุมวางไข่ ชาวบ้านสมัยก่อนใช้วิธีสุดท้าย คือสังเกตพื้นทรายบริเวณที่มีรอยของเต่าในเวลาประมาณ ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ นาฬิกา จะพบว่าบริเวณที่เป็นหลุมไข่เต่าจะมีลักษณะเป็นไอหรือควันขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเมื่อไข่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาถูกกับความเย็นของทรายชั้นล่างก็เกิดการคายความร้อน และเกิดไอขึ้นเหนือทรายได้
ไข่เต่าในแต่ละหลุมหรือที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า "รัง" จะมีจำนวนแตกต่างกันตามชนิดของเต่า และลำดับครั้งที่วางไข่ เช่น เต่ากระ ครั้งแรกอาจไข่รังละ ๘๐ ฟอง ครั้งต่อไป ก็อาจถึง ๑๒๐ ฟอง แล้วลดลงมาจนครั้งสุดท้ายอาจมีราว ๓-๔ ฟอง นอกนั้นเป็นไข่ที่ไม่มีไข่แดง ซึ่งเรียกว่า "ไข่ลม" เต่าเล็กจะไข่ครั้งแรกประมาณ ๑๐๐ ฟอง ครั้งต่อไปราว ๑๕๐ ฟอง ครั้งสุดท้ายก็ลดลงเหลือไม่กี่ฟอง เต่ามะเฟืองราว ๑๒๕ ฟอง ส่วนเต่าหางยาวมีจำนวนมากที่สุดราว ๑๕๐ ฟอง

ประเพณีลอยเรือ



ความสำคัญ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้

พิธีกรรม
ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะเป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน
บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธีฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

สาระ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญ
โต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน

ประเพณีถือศีลกินเจ



ความสำคัญ
จังหวัดกาญจนบุรีมีชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงต้นเดือนเก้า จะเห็นชาวจีนนุ่งผ้าขาวใส่เสื้ออาภรณ์สีขาวเดินไปสู่ศาลเจ้าและสำนักทางศาสนาทางจีนเป็นหมู่ใหญ่แสดงให้เห็นว่าเทศกาลถือศีลกินเจได้เริ่มแล้ว พิธีกินเจจะทำอยู่เก้าวันเก้าคืน เพื่อบูชาพระเก้าองค์กับดาวพระเคราะห์เก้าดวง รวมความว่ามีจำนวนเก้าทั้งสิ้น (การบูชาพระเก้าองค์ หมายถึงพระวรกายของพระพุทธเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์ในอดีต ซึ่งอวตารมาช่วยชาวโลก และมีดาวอีกสองดวงเป็นพระวรกายแห่งพระโพธิสัตว์อีกสองพระองค์ ซึ่งทั้งหมดได้แบ่งภาคปรากฏแก่โลก เช่น พระวิชัยโลกมนจงพุทธะ จะปรากฏเป็นดาวพระอาทิตย์ เป็นต้น และดาวพระเคราะห์ทั้งเก้าได้ก่อให้โลกธาตุซึ่งเป็นหัวใจของโลก มีคุณแก่มนุษย์และสัตว์ พฤกษชาติทั้งปวงอย่างเอนกอนันต์ ) เป็นการบูชาพระผู้ทรงพระคุณและเพื่อความสุข ความเจริญทั้งแก่ตนและแก่โลกสืบไป

พิธีกรรม
เมื่อถึงวันเทศกาลถือศีลกินเจพุทธบริษัทแห่งนิกายมหายานมักหยุดทำธุรกิจ จะกระทำการแผ่เมตตาธรรมแก่มวลมิตรพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ให้อโหสิกรรมแก่กันและกัน แต่งตัวด้วยอาภรณ์ขาวล้วน ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินกันไปเป็นหมวดเป็นหมู่ ไปสู่ศาสนสถาน เพื่อกระทำพิธีบูชาพระทั้งเก้าองค์ และตลอดเก้าวันของพิธีถือศีลกินเจพุทธศาสนิกชนจะพึงสมาทานรักษาศีลสามข้อ คือ เว้นจากการนำชีวิตสัตว์มาบำรุงชีวิตตน เว้นจากการนำเลือดสัตว์มาเพิ่มเลือดตน เว้นจากการนำเนื้อสัตว์มาเพิ่มเนื้อตน
ดังนั้นเมื่อถือศีลสามข้อนี้แล้ว จึงรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ได้ ต้องรับประทานแต่อาหารถั่วงาและพืชผักอย่างอื่น

สาระ
ประเพณีถือศีลกินเจได้กระทำสืบเนื่องมานาน เป็นประเพณีที่อิงศาสนา อิงโหรศาสตร์ และอิงวัฒนธรรม ในช่วงเวลาของพิธีถือศีลกินเจถือว่าเป็นช่วงที่ละเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์และกระทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว

งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี



วัดนางชีเป็นวัดเก่า ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยไหน แต่สันนิษฐานได้ว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีได้สร้างร่วมกับพระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร สาเหตุที่สร้างก็เนื่องมาจากแม่อิ่มลูกสาวของเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุ จนกระทั่งมีชีปะขาวมานิมิตเข้าฝันให้เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีแก้บนโดยให้ลูกสาวบวชชี ดังนั้นเมื่อแม่อิ่มหายป่วย เจ้าพระยาพิชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชีพร้อมกับสร้างวัดนี้ วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างในปลายแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (พระราชาธิราชที่ ๒) เพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากอยู่ระหว่างทำสงครามกับพม่าก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒ วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ่อค้าสำเภาชื่อพระยาโชฏึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวจีนอาศัยอยู่ในแผ่นดินสยามได้เป็นผู้บูรณะและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งวัด ได้ดัดแปลงและแก้ไขรูปทรงพระอุโบสถพระวิหารให้เป็นแบบจีน ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบ และนำตุ๊กตาหินแบบจีนและหินปูทางเดินมาจากเมืองจีนเพื่อมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ นอกจากนี้ได้ถวายเครื่องใช้แบบจีนเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเตียงไม้มะเกลือประดับลายหอยมุกและหินอ่อน ซึ่งเป็นของลูกสาวที่เสียชีวิตอยู่บนเตียงนี้เมื่ออายุประมาณ ๑๘ ปี ๑ หลัง เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายวัดนี้แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นพระอารามหลวง ได้พระนามว่า "วัดนางชีโชติการาม" ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระยาราชานุชิต (จ๋อง) ได้บูรณะและปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้งและถวายเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ดังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

ปูชนียวัตถุพิเศษที่สำคัญในวัดได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกซึ่งมีจำนวนไม่แน่นอน อาจจะเพิ่มหรือลดลงแตกต่างกันไปในแต่ละปี ก่อนที่จะนำพระบรมสารีริกธาตุมาให้ประชาชนสรงน้ำ จะมีการตรวจนับจำนวนพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกทุกครั้ง เมื่อแห่พระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้วก็จะตรวจอีกครั้งหนึ่งก่อนจะนำไปประดิษฐานเก็บไว้บนกุฎิเจ้าอาวาส พระบรมธาตุนั้นจะมีขนาดเล็กมากคือมีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของเมล็ดข้าวสารหัก เวลาตรวจนับจะต้องใช้แว่นขยายช่วยจึงจะมองเห็นชัด กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาได้เขียนเล่าเกี่ยวกับจำนวนพระธาตุที่เพิ่มขึ้น และลดลงไว้ในหนังสือตำราพระธาตุว่า พระบรมธาตุและพระธาตุนี้ก็เป็นของแปลก ถ้าเป็นพระบรมธาตุก็ว่าเสด็จมาเองบ้าง เสด็จไปเองบ้าง ครั้งหนึ่งประมาณ ๒๐ ปีล่วงแล้ว เขาพูดว่าพระบรมธาตุที่วัดนางชี อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี บางปีก็มี

จำนวนเพิ่มขึ้นบางปีก็มีจำนวนลดลง ที่ว่าไปพิสูจน์นั้น ได้เป็นจริงดังที่เขาว่ากัน ปีแรกที่ไปดูมีจำนวนมาก ครั้งที่สองน้อยลง ครั้งที่สามจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ไม่ถึงจำนวนที่ไปดูครั้งแรก สงสัยว่าทางวัดจะเอาออกหรือเพิ่มขึ้นเพื่อลวงว่ามีอภินิหาร ถามเจ้าอาวาสท่านบอกว่าไม่เคยเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ท่านเป็นเจ้าอาวาสมาหลายปีแล้วไม่เคยเอาออกมาดูเลย เอาออกมาสรงน้ำปีละครั้งคือวันแห่และตรวจต่อหน้ากรรมการด้วย

พระบรมสารีริกธาตุที่วัดนางชีมิได้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ดังเช่นพระบรมธาตุที่อื่นแต่บรรจุไว้ในผอบแก้วซึ่งเป็นขวดน้ำหอมจากฝรั่งเศสที่ชาววังใช้น้ำหอมผสมน้ำอาบกันในสมัยก่อน แล้วประดิษฐานไว้ ณ มณฑปที่จัดทำเป็นพิเศษ ตามประวัติที่เล่ากันต่อ ๆ มากล่าวว่า เมื่อ ประมาณ พ.ศ ๑๒๑๙ คณะพราหมณ์ ๓ ท่าน และชาวจีน ๙ ท่าน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุผอบทองคำ ๒ ผอบมาโดยเรือสำเภาจากชมพูทวีป เพื่อไปประดิษฐานไว้ที่เมืองปทาคูจาม อาณาจักรศรีวิชัย (นครศรีธรรมราช) และที่เมืองเชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง แต่เมื่อได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานที่เมืองนครศรีธรรมราช (ในปัจจุบันนี้ได้บรรจุพระบรมธาตุไว้ในพระสถูปเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช) แล้วได้เดินทางต่อไปจนเรือได้เกิดอุบัติเหตุล่มลงที่ตรงบริเวณปากน้ำคลองด่านปัจจุบัน (ตามสภาพภูมิศาสตร์ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยทางแถบเมืองธนบุรียังเป็นป่าทึบ และพื้นดินยังไม่งอกออกมามากมายเท่าในปัจจุบัน) คณะพราหมณ์และชาวจีนจึงได้

พร้อมใจกันอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุขึ้นห่างจากที่เรือล่มประมาณ ๕ไมล์ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีก็ตกลงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ ที่นั้น แต่ไม่ทราบว่าได้ประดิษฐานไว้อย่างไร เมื่อนานเข้าผอบทองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นได้ถูกฝังจมดิน พระบรมสารีริกธาตุที่ทูลเชิญเสด็จมาในครั้งนั้นมีด้วยกัน ๕ พระองค์คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ส่วนใหญ่ ส่วนแขน ซี่โครง หัวเข่าและขา ต่อมาในสมัยพระชัยราชา (พระเอก) กษัตริย์องค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ. ๒๐๘๒ เป็นปีที่วัดนางชีสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบรมสารีริกธาตุเสด็จขึ้นมาให้ปรากฏแก่แม่ชีอิ่มให้เห็นทั้ง ๕ พระองค์ แม่ชีอิ่มได้ทูลเชิญเสด็จบรรจุไว้ในผอบแก้วและได้ประดิษฐานไว้ ณ วัดนางชีแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา


ช่วงเวลา
จัดขึ้นในวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี หลังจากวันลอยกระทงและเทศน์มหาชาติแล้ว ทางวัดจะจัดให้มีงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ หรือที่รู้จักกันในสมัยก่อนว่า "งานชักพระ" หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ" 


ความสำคัญ
เป็นงานชักพระแห่งเดียวที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ และยังแตกต่างไปจากงานชักพระทางจังหวัดภาคใต้ซึ่งเป็นประเพณีอันสืบเนื่องมาจากพระพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์เมื่อเสด็จมาจากดาวดึงษ์แล้ว จึงอัญเชิญพระพุทธองค์ประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้แห่แหนไปสู่ที่ประทับ ซึ่งจัดทำกันในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ อันเป็นวันออกพรรษาโดยอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานบนบุษบกที่อยู่บนรถหรือบนเรือแล้วให้เรือชาวบ้าน หรือคนช่วยกันจับปลายเชือกลากพระไป แต่งานชักพระวัดนางชีเป็นการเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุสาวกขึ้นประดิษฐานบนบุษบกแทนแล้วชักแห่ไปทางเรือจากหน้าวัดนางชีไปตามลำคลองด่าน เลี้ยวซ้ายออกไปตามคลองบางกอกใหญ่ และผ่านมาช่วงปลายของคลองซึ่งเรียกว่าคลอง

ชักพระ (ปัจจุบันนี้คำว่าคลองชักพระยังปรากฎเป็นชื่อของสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณนั้น เช่น ตำบลคลองชักพระ สะพานคลองชักพระ ถนนชักพระ เป็นต้น) แล้วอ้อมไปทะลุคลองบางกอกน้อยล่องขบวนไปตามคลองบางกอกน้อย คาดว่าพอถึงวัดไก่เตี้ยเขตตลิ่งชันประมาณตอนเพลหยุดขบวนและขึ้นเลี้ยงพระที่นั่น เสร็จแล้วก็ล่องขบวนไปออกปากคลองบางกอกน้อย เลี้ยวขวาเลียบมาตามลำน้ำเจ้าพระยาแล้วมาเข้าคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แล้ววกมาเข้าปากคลองด่านกลับไปยังวัดนางชีตามเดิม การแห่ครั้งนี้ชาวบ้านมักเรียกว่า "แห่อ้อมเกาะ"


พิธีกรรม
ในสมัยก่อนงานชักพระวัดนางชีเป็นงานเทศกาลประจำที่ครึกครื้นมโหฬารที่สุดในแถบนั้น ผู้ที่เข้าขบวนแห่จะแต่งตัวกันอย่างสวยงาม ประณีต เรียบร้อยจะเตรียมซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไว้ตั้งแต่มีงานภูเขาทอง เป็นที่เชื่อกันว่าในปีใดถ้าไม่มีการแห่พระบรมธาตุจะต้องมีอันเป็นไปอันทำให้ชาวบ้านแถบนั้นเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือภัยพิบัติต่าง ๆ แม้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทางรัฐบาลห้ามไม่ให้มีการแห่แหนหรือจัดงานใดเลย แต่งานแห่พระบรมธาตุก็ยังคงต้องดำเนินไปตามประเพณีโดยได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ ขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุในสมัยก่อนจะเป็นขบวนเรือพายช่วยกันชักจูงเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไป ทางวัดจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาให้สรงน้ำแต่เช้าตรู่ และจะเริ่มเคลื่อนขบวนออกจากวัดตั้งแต่ ๖.๐๐ น. ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้นำพระบรมสาริริกธาตุมาให้สรงน้ำตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ ของวัน แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ จนถึงเวลา ๙.๐๐ น. ของวันต่อมา เรือที่มาร่วมขบวนมีจำนวนหลายร้อยลำและมาจากตำบลทั้งใกล้และไกล เรือที่มา

ร่วมขบวนแห่มีหลายแบบ ผู้คนในเรือแต่ละลำก็จะแต่งตัวให้เหมือนกันแล้วแต่จะตกลงกัน บางลำก็แต่งเป็นตัวตลกเช่นใส่หัวล้านทั้งลำ หรือจัดให้มีการเล่นละคร ลิเก เพลง ในเรือเป็นการสนุกสนาน นอกจากนั้นก็มีเรือที่ลากจูงเรือพระบรมธาตุ เรือพวกนี้จะเป็นเรือที่ตกแต่งหัวเรือและท้ายเรือไว้อย่างสวยงาม เช่น เป็นหัวสุครีพ หงส์ เป็นต้น เรือพวกนี้ทางวัดต่าง ๆ จะจัดเตรียมไว้ พอจวนถึงงานชักพระในละแวกนั้นจะไปยืมเรือที่วัดมาเตรียมยาเรือและตกแต่งเพื่อเข้าขบวนแห่ เรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจะเป็นเรือต่อขนาดใหญ่ตกแต่งอย่างสวยงามมีวงปี่พาทย์บรรเลงสมโภชไปในเรือตลอดทาง กาญจนาคพันธุ์ เล่าไว้ว่า กระบวนแห่ชักพระนั้นเป็นเรือยาวอย่างที่เรียกกันว่า "เรือแล่น" ...ลงน้ำมันสวยสดงดงามนั่งได้อย่างน้อยก็ ๕-๖ คน พายก็ใช้พายที่เรียกว่า "พายคิ้ว" คือมีลวดลายตลอดกลางใบพาย ทุกลำมีแพรแดงผูกที่หัวเรือ ...เรือที่มีคนพาย

แต่งชุดต่าง ๆ แปลก ๆ เหล่านี้มีตั้ง ๒๐๐ ลำ อีกพวกหนึ่งเป็นเรือยาวพวกเรือชะล่า เรือมาด ....เรือพวกนี้คนนั่งอย่างน้อยราว ๒๐ คน......รวมทั้งหมดเห็นจะราวสัก ๕๐ ลำ เรือพวกนี้เข้าใจว่าจะมาจากที่ไกล ๆ ...นอกจากนี้ก็เป็นเรือแล่นที่แสดงการเล่นละคร ลิเก ฯลฯ ในเรือด้วยมีราวสัก ๑๐ ลำ (แต่ไม่ใช่แสดงทั้งโรง ลำหนึ่ง ๆ ก็มีเพียง ๒-๓ ตัว) ส่วนเรือพระนั้นเป็นเรือใหญ่ตั้งบุษบกตกแต่งอย่างสวยงามทั้งลำมีเรือจูงอีกพวกหนึ่งราวสัก ๒๐ ลำ ในขณะที่ขบวนแห่เคลื่อนไปนั้น เมื่อถึงสะพานใดจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นจากเรือ ให้คนถือเดินข้ามสะพานไปลงเรือทางอีกด้านหนึ่งตลอดทางเมื่อถึงวัดไก่เตี้ยจะเปิดโอกาสให้คนบริเวณนั้นลงมาสรงน้ำพระบรมธาตุในเรือขณะที่หยุดพักจะมีการละเล่น การแข่งเรือกันอย่างสนุกสนาน

ระยะต่อมา ได้เปลี่ยนมาใช้เรือยนต์จูงเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การละเล่นที่สนุกสนานก็ยังคงมีอยู่ เรือที่ตามเรือพระบรมธาตุก็ น้อยลง สมัยนี้ใช้เรือยนต์ลากเรือทรง เรือพายน้อยไปเพราะพายไม่ทันเรือพ่วง พายไม่ทันเลยไม่มีความหมาย เรือก็น้อยลงไปโดยลำดับ เพราะการร่าเริงอยู่ที่จับกลุ่มตามเรือทรงพระบรมธาตุไปเรื่อย ๆ ตามกำลังแรงคน เร็วหรือช้าเขาไม่อุทรณ์ร้อนใจ บางทีนึกสนุกขึ้นมาก็ขึ้นมาช่วยกันเอาเรือทรงผูกไว้ตามต้นไม้ ไม่ยอมให้ไปก็มี เมื่อได้สนุกพอแก่ความต้องการที่ปล่อยเรือจูงลากไป

ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเปลี่ยนเป็นเรือยนต์ขนาดใหญ่ ที่ยังจัดตกแต่งเรืออย่างแบบเดิม ส่วนเรือที่ตามขบวนก็เปลี่ยนเป็นเรือหางยาวซึ่งมีผู้ที่จะร่วมขบวนต้องเสียเงินเป็นค่าโดยสารเรือขบวนนั้น ถึงแม้จะไม่มีเรือของชาวบ้านมาร่วมขบวนแห่อย่างเอิกเกริกดังเช่นสมัยก่อน บรรดาชาวบ้านตามริมคลองยังคงมานั่งดูขบวนแห่ตามริมคลองอย่างหนาแน่นพวกที่อยู่ลึกเข้าไปจะพายเรือมาจอดรถดูขบวนเป็นทิวแถว เมื่อขบวนเรือไปใกล้บริเวณวัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน จะเริ่มมีขบวนเรือของพวกชาวบ้านพายมาเข้าร่วมขบวนแห่ ยังมีเรือหลายลำแต่งตัวสวยงาม เป็นแบบเดียวกัน บางลำมีการร้องรำทำเพลง เต้นรำกันไปในเรืออย่างสนุกสนาน พอถึงวัดไก่เตี้ยจะเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนที่ซึ่งทางวัดจัดไว้เพื่อให้ชาวบ้านแถบนั้นได้สักการบูชา


สาระ
ท่านผู้สูงอายุหลายท่านเล่าว่าในสมัยก่อนพระบรมสารีริกธาตุมีปาฎิหารย์ปรากฎให้เห็นเสมอ เช่นจะเกิดแสงสว่างอย่างประหลาดทั่วท้องฟ้าก่อนที่จะแห่พระบรมสารีริกธาตุ หรือมีลูกไฟดวงใหญ่ปรากฏทางทิศตะวันออก หรือเกิดแสงสว่างอย่างประหลาดในบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมธาตุนั้น ปาฏิหาริย์เป็นที่เรื่องลือกันและกล่าวขวัญถึงจนทุกวันนี้ก็คือ ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว เมื่อครั้งยังใช้เรือลากจูงเรือพระบรมธาตุเล่ากันต่อ ๆ มาว่า เมื่อขบวนแห่กลับมาถึงหน้าวัดอินทาราม (ใต้) เกิดมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันบนเรือ ผู้คนต่างตกอกตกใจ หลบหนีกันชุลมุนจนทำให้เรือพระธาตุล่มลง มณฑปพระบรมธาตุและผอบที่บรรจุพระบรมธาตุที่ตั้งอยู่บนบุษบกโค่นหล่นน้ำจมลงกลางคลองตอนเวลาประมาณบ่าย ๒ โมงเศษ ชาวบ้านช่วยกันงมหาก็ไม่พบ ในที่สุดขบวนแห่ต้องกลับวัดนางชีโดยไม่มีพระบรมธาตุไปด้วย เจ้าอาวาสเสียใจมาก เมื่อ

กลับมาถึงวัดทำพิธีอาราธนาพระบรมธาตุให้กลับมาวัดนางชีดังเดิม หลังจากนั้นไม่กี่วันมีชาวบ้านบริเวณวัดอินทาราม (ใต้) เห็นผอบแก้วที่บรรจุพระบรมธาตุตั้งอยู่บนแท่นโคนโพธิ์ จึงได้อัญเชิญมาถวายวัดนางชีดังเดิม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ งานแห่พระบรมสาริริกธาตุได้เปลี่ยนไปจัดในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ หลังวันลอยกระทง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ และ ๒๕๓๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้มาเป็นประธานในการแห่พระบรมสารีริกธาตุ ขบวนเรือที่ที่เข้าร่วมขบวนแห่ได้ตกแต่งเป็นเรือบุบผาชาติอย่างสวยงาม และกองทัพเรือได้จัดเรือดั่งพร้อมฝีพายมาร่วมขบวนด้วย และจัดเป็นเรืออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ


เอกสารอ้างอิง
กาญจนาคพันธุ์ (ขุนวิจิตรมาตรา) เมื่อวานนี้ ตอนเด็กคลองบางหลวง , เล่ม ๒ ก.ท. เรืองศิลป์ ๒๕๒๐

"งานชักพระ"ที่บ้านดอน สยามรัฐ ฉบับวันหยุดสุดสัปดาห์ , ปีที่ ๒๙ ฉ.๙๗๔๒ : ๑๓ ตุลาคม ๒๕๒๑

ดำเนิร เลขกุล "วัดนางชี" สตรีสาร , ปีที่ ๙ ฉ.๒๐๗ : กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐

ตำนานพระอารามหลวง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสำเร็จวรรณกิจ (บุญ เสขะนันท์) 

ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง ๒๓ เมษายน ๒๕๑๕ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี : อรุณการพิมพ์ ๒๕๑๕

"นครศรีธรรมราช" สยามรัฐ ฉบับวันหยุดสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๙ ฉ ๙๗๗๘ : ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๑.

นางชี, วัด งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ, ประจำปี ๒๕๑๕

งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ, ประจำปี ๒๕๑๘

ประสานอักษรพรรณ, พระ ผู้รวบรวม "ประวัติวัดนางชี" (โดยรับสั่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า) แถลงการ

คณะสงฆ์ เล่ม ๑๘ ภาค ๓ มิถุนายน ๒๔๗๓

ประเพณีไทยและประวัติวันลอยกระทง 2555

on วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



ประวัติวันลอยกระทงและประเพณีไทยลอยกระทง

การลอยกระทงมีวัตถุประสงค์ด้วยกัน 2 ประการ คือ
      1. เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคภิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (1) เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสนี้
      ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกัน


      ยี่เป็งสันทราย ได้จัดประเพณีลอยกระทง และลอยโคม ซึ่งเป็นภาพวัฒนธรรมไทยที่งดงามมากในสายตาของชาวโลก และยังได้มีการจัดลอยโคมที่มองโกเลีย และอินเดียเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วด้วย

      2. เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต  ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆ ต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ใช้ทิ้งขว้าง  ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา


ความเป็นมาของเทศกาลวันลอยกระทง  


คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้

1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทม สินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทาน ทีเมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้อง ทะเลลึกหรือสะดือทะเล


ประวัติวันลอยกระทงในประเทศไทย


วันลอยกระทง 2554 

การลอยกระทงในประเทศไทยมีมาตั้วแต่ครั้งสุโขทัย 
      การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท


      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)


      รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีมีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีเพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา
การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ
      1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ
      2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก

ตำนานการลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี


ลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี

การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี



     เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลากลางคืนด้วยม้ากัณฐกะ พร้อมนายฉันทะมหาดเล็กผู้ตามเสด็จ ครั้นรุ่งอรุณก็ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที เจ้าชายทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จลงประทับเหนือหาดทรายขาวสะอาด ตรัสให้นายฉันทะนำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร ทรงตั้งพระทัยปรารภจะบรรพชา โดยเปล่งวาจา "สาธุ โข ปพฺพชฺชา" แล้ว จึงทรงจับพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับพระเมาลีไว้และนำไปบรรจุยังพระจุฬามณีเจดียสถานในเทวโลก พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ 

ตำนานการลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก 

       เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชจนได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลังจากเผยพระธรรมคำสั่งสอนแก่สาธุชนโดยทั่วไปได้ระยะหนึ่ง จึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา ครั้งจำพรรษาจนครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับลงสู่โลกมนุษย์เมื่อท้าวสักกเทวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมี บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร บันไดแก้วนั้นเป็นที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่สำหรับเทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินสำหรับพรหมทั้งหลายส่งเสด็จ ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันทำ การสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย การลอยกระทงตามคตินี้ จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)

กำหนดการวันลอยกระทง

     วันลอยกระทง จัดขึ้นในทุกวันเพ็ญเดือนสิบสองของปี เป็นวันที่น้ำเต็มตลิ่ง วันเพ็ญซึ่งเป็นวันสว่าง และเดือนสิบสองที่มีน้ำเต็มตลิ่ง เหมาะกับการลอยกระทง
กระทงสำหรับลอยบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ลักษณะของกระทงที่ใช้ลอย

ลักษณะของกระทงที่ใช้ลอย

1. กระทงใบตอง ปักด้วยเทียน เป็นการบูชาพระสัมาสัมพุทธเจ้าด้วยแสงสว่าง
2. กระทงโฟม ต่อมามีโฟมก็เลือกใช้โฟม
3. กระทงสาย ทำจากกะลามะพร้าว ที่ขัดให้สะอาดและหลอมเทียนพรรษาใส่ลงไปในกะลาจุดเทียนแล้วลอยลงแม่น้ำ ไหลตามกันเป็นสายตามร่องแม่น้ำปิง ซึ่งมีสันทรายอยู่ใต้น้ำ จึงเรียกกระทงสาย ซึ่งประเพณีของจังหวัดตาก

ความเชื่อของประเพณีลอยกระทง ลอยทุกข์ ลอยโศก

    ความเชื่อของการลอยกระทงเพื่อ ลอยทุกข์ ลอยโศกให้ลอยหายไปพร้อมกับกระทงด้วยการตัดเล็บ ผม และเงินใส่ลงไปในกระทง สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อที่มีมาในในภายหลัง เป็นสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ แต่ความจริงเราไม่สามารถที่จะลอยทุกข์โศกให้หมดไปได้ด้วยการลอยกระทง  ดังนั้นถ้าจะให้ทุกข์โศก โรคภัย เคราะห์ร้ายออกไปด้วย เราต้องสร้างบุญ โดยในตอนกลางวัน ก่อนที่จะไปลอยกระทง เราก็ไปทำบุญที่วัดก่อน แล้วนำบุญนั้นมาอธิษฐานในคืนวันลอยกระทง ด้วยกุศลผลบุญนี้ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยทั้งหลายออกไปจากใจของข้าพเจ้า


จุดประสงค์ของการจุดดอกไม้ไฟในวันลอยกระทง

     สมัยโบราณเดิมทีเดียวยังไม่มีการจุดดอกไม้ไฟ แต่เป็นการเพิ่มเติมมาทีหลัง เพื่อสร้างความคักคักสนุกสนาน

การลอยกระทง เราควรจะนึกถึง เป้าหมายดั้งเดิมของประเพณี คือ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นึกถึงคุณของน้ำ และบริหารจัดการน้ำอย่างถูกหลัก ขณะเดียวกันให้ระมัดระวังเรื่องเมาสุรา ทะเลาะวิวาท ปัญหาชายหญิง ก็จะเป็นการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามไว้
ลอยกระทงปีนี้ มาลอยกระทงออน์ไลน์กัน



  

รูปวันลอยกระทง ปี พ.ศ.2553


ประมวลภาพงานวันลอยกระทง ณ สระเศรษฐี วัดพระธรรมกาย
วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
วันลอยกระทง
ลอยกระทงบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
วันลอยกระทง 
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมายาวนาน 
ลอยกระทง 
วันลอยกระทงจัดขึ้นในทุกวันเพ็ญเดือนสิบสองของปี  
ลอยกระทง 
ภาพงานวันลอยกระทง ณ สระเศรษฐี วัดพระธรรมกาย 
ลอยกระทง 
จุดดอกไม้ไฟวันลอยกระทง 
วันลอยกระทง 
ลอยกระทง 
  
วันลอยกระทง 
  
วันลอยกระทง
  
วันลอยกระทง

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง
จุดดอกไม้ไฟวันลอยกระทง 
วันลอยกระทง 
วันลอยกระทง 
วันลอยกระทง 
วันลอยกระทง 
วันลอยกระทง
 
ลอยกระทง 
ลอยกระทง 
ลอยกระทง

ประเพณีไทยยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2555


ประเพณีไทยยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดการจัดงาน วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555 (เวลา 17.00 น.- 20.30 น.) สถานที่จัดงาน ธุดงคสถานล้านนา การเข้าร่วมกิจกรรม ” ฟรี ” ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กิจกรรม เชิญพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมในงานบุญประเพณีทอดกฐินล้านนาสามัคคี และ งานบุญประเพณียี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สร้างมหากุศลให้เมือง เชียงใหม่ และเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ การสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย แบบทำนองสรภัญญะ การนั่งสมาธิเจริญภาวนา การเวียนเทียน การจุดประทีป การลอยโคมถวายเป็นพุทธบูชา พุทธศาสนิกชน ที่มีจิตศรัทธาเข้าร่วมงาน โปรดสวมชุดสีขาว ชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย และรักษาประเพณีเข้าวัดอันเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถร่วมทำบุญสนับสนุนโคมมาตราฐานได้ในพื้นที่จัดงาน ไม่อนุญาตให้นำโคมไม่ได้มาตราฐานเข้ามาในงานและเพื่อความปลอดภัย และถนนเข้างานจะปิดภายในเวลา 17.00 น. จึงควรเผื่อเวลาการเดินทางไว้ล่วงหน้า *มาร่วมปล่อยโคมยี่เป็งเพื่อถวายเป็นพุทธบูชากันนะครับ*